ประวัติโรงเรียน

 

ปีพุทธศักราช 2480 หมื่นกำราบโจรกรรม ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 4 และนายคำ ดวงดอกมูล ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 5 ตำบลจันจว้าใต้ อำเภอแม่จัน จังหวัดเชียงราย ได้ขอจัดตั้งโรงเรียนบ้านกิ่วพร้าวขึ้นในปัจจุบันในเนื้อที่ 7 ไร่ 3 งาน 74 ตารางวา ได้รับงบประมาณจากทางราชการ 800 บาท สร้างอาคารไม้แบบ ป.1 ก ขนาด 3 ห้องเรียน 1หลัง            มีนายแปลก ใจปินตา ดำรงตำแหน่งครูใหญ่เป็นคนแรก เปิดสอนตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-4 ปัจจุบันอาคารหลังนี้ถูกรื้อแล้วและได้นำวัสดุมาสร้างเป็นโรงอาหารเมื่อ พ.ศ.2518

ประมาณปีพุทธศักราช 2500 ผู้ใหญ่บ้านและราษฎรหมู่ที่ 4 -5 ตำบลจันจว้าใต้ ได้เริ่มสร้างอาคารเรียนขนาด 7 ห้องเรียน เสริมมุขทั้งสองด้าน โดยได้หล่อเสาและถมดินไว้ จนถึงปี พ.ศ.2519 ได้รับงบประมาณจากทางราชการจำนวน 330,000 บาท (สามแสนสามหมื่นบาทถ้วน) และราษฎรทั้งสองหมู่บ้านสมทบอีกจำนวน 30,000 บาท  (สามหมื่นบาทถ้วน) จึงดำเนินการก่อสร้างจนเสร็จเรียบร้อยและในปีงบประมาณ 2519 ได้รับความช่วยเหลือจากหน่วยงานเหนือ หน่วยงานเอกชน และราษฎรทั้งสองหมู่บ้าน ดังต่อไปนี้

  1. งบประมาณการก่อสร้างทางราชการ
    • ปี พ.ศ.2522 ได้รับงบประมาณสร้างอาคารเรียนแบบ ป.1ก อาคารตึก จำนวน 4 ห้องเรียน งบประมาณ 300,000 บาท (สามแสนบาทถ้วน) และในปีงบประมาณ 2552 ได้รับงบประมาณก่อสร้างส้วมแบบองค์การฯ ขนาด 5 ที่นั่ง 1 หลัง งบประมาณ 25,000 (สองหมื่นห้าพันบาทถ้วน)
    • ปี พ.ศ.2525 ได้รับงบประมาณสร้างโรงฝึกงานแบบ ชร.01 จำนวน 1 หลัง งบประมาณ 109,500 บาท (หนึ่งแสนเก้าพันห้าร้อยบาทถ้วน)
    • ปี พ.ศ.2526 ได้รับงบประมาณต่อเติมอาคารเรียนแบบ ชร.01 อีก 2 ห้องเรียน คิดเป็นเงิน 245,000 บาท (สองแสนสี่หมื่นห้าพันบาทถ้วน)
    • ปี พ.ศ.2525-2527 ได้รับงบประมาจากการเสนอของ ส.ส.พายัพ กาญจนารัณย์ ปีละ 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) รวมเป็นเงิน 40,000 บาท (สี่หมื่นบาทถ้วน) สร้างรั้วคอนกรีต บล็อกเสริมเหล็กยาว 162 เมตร จนเรียบร้อย หลังจากสร้างรั้วแล้ว ได้ตัดถนนหลังโรงเรียนแยกกับบ้านหลังโรงเรียนเป็นสัดสวนและอำนวยความสะดวกทั้งหมู่บ้านและโรงเรียนได้อย่างเต็มที่
    • ปี พ.ศ.2526-2527 ได้รับงบประมาณสร้างเรือนเพาะชำ 1 หลัง วงเงินงบประมาณ 10,000 บาท                  (หนึ่งหมื่นบาทถ้วน)  และงบประมาณสร้างถังน้ำแบบ ผ.33 ขนาด 3 ถัง งบประมาณ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)
    • ปี พ.ศ.2532 ได้รับงบประมาณสร้างส้วมขนาด 4 ที่ นั่ง 1 หลัง งบประมาณ 70,000 บาท        (เจ็ดหมื่นบาทถ้วน) และในปีเดียวกันนี้ได้รับงบประมาณถมที่สาธารณะข้างโรงเรียนจากการเสนอของ ส.ส.มงค        จงสุทธนามณี จำนวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) ซึ่งที่แห่งนี้ราษฎรและคณะกรรมการหมู่บ้าน ได้ใช้เป็นสนามกีฬานักเรียน ซึ่งต่อมาตั้งแต่ปี พ.ศ.2533 เป็นต้นมา นายสมบัติ ไชยสาร และนายสว่าง วรรณเลิศ เริ่มถมที่เพิ่มขึ้นเรื่อยๆ เพื่อให้เต็มเนื้อที่และใช้เป็นสนามกีฬาต่อไป

 

  1. การช่วยเหลือที่ได้รับจากหน่วยงานอื่นๆ เช่น มูลนิธิ ผู้ปกครองนักเรียน ฯลฯ

2.1 ในปี พ.ศ.2521 ในโรงเรียนได้เริ่มดำเนินการ โครงการอาหารกลางวันจากมูลนิธิช่วยเหลือเด็กยากจนในพระบรมราชินูปถัมภ์ จำนวน 3,497 บาท (สามพันสี่ร้อยเก้าสิบเจ็ดบาทถ้วน) และโครงการนี้ได้ดำเนินการจนถึงปัจจุบัน และได้รับความอนุเคราะห์จากหน่วยงานต่างๆ ดังนี้

– วันที่ 16 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2525 ได้รับความอนุเคราะห์จากมูลนิธิช่วยเหลือเด็กยากจนใน     พระบรมราชินูปถัมภ์อีก จำนวน 3,497 (สามพันสี่ร้อยเก้าสิบเจ็ดบาทถ้วน)

– ปี พ.ศ.2525 ได้รับเงินจากชาวไทยที่ได้ไปทำงานในประเทศซาอุดิอารเบีย จำนวน 6,120 บาท (หกพันหนึ่งร้อยยี่สิบบาทถ้วน)

– ตั้งแต่ปี พ.ศ.2526 ได้รับเงินช่วยเหลือจากมูลนิธิช่วยเหลือเด็กยากจน ในพระบรมราชินูปถัมภ์อีก 1,000 บาท (หนึ่งพันบาทถ้วน)

– ตั้งแต่ปี พ.ศ.2527 เป็นต้นมา ได้รับงบประมาณจากสำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาแห่งชาติทุกปี

2.2 วันที่ 27 เดือน มกราคม พ.ศ.2533 ได้เริ่มก่อตั้งโครงการกองทุนพัฒนาโรงเรียนและช่วยเหลือโครงการอาหารกลางวันเป็นครั้งแรก ได้เงิน 62,294 บาท (หกหมื่นสองพันสองร้อยเก้าสิบสี่บาทถ้วน) และสามารถตั้งกองทุนครบเป้าหมายจำนวน 100,000 บาท (หนึ่งแสนบาทถ้วน) เมื่อวันที่ 17 เดือน พฤศจิกายน พ.ศ.2533

2.3 วันที่ 1 เดือน มกราคม พ.ศ.2533 เริ่มก่อตั้งกองทุนช่วยเหลือนักเรียนยากจน โดยตั้งเป้าหมายไว้ 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน) ฝากไว้ในสวัสดิการโรงเรียนนำดอกเบี้ยมอบเป็นทุนนักเรียนทุกปี ในต้นปีการศึกษา 2539 มียอดกองทุนจำนวนประมาณ 28,000 บาท (สองหมื่นแปดพันบาทถ้วน)

2.4 ปี พ.ศ. 2532 นางสาวเพ็ญลักษณ์ ไชยรังสี ได้ติดต่อขอความช่วยเหลือจากคนไทยในสหรัฐอเมริกา ช่วยจัดการหาทุนเพื่อช่วยเหลือโครงการเกษตรส่งเสริมอาหารกลางวัน ได้รับเงินช่วยเหลืออย่างต่อเนื่องเป็นเงิน 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน) จัดสร้างโรงเรือนเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่แบบถาวร ในปีการศึกษา 2534 และดำเนินโครงการ ต่อมาการเลี้ยงไก่พันธุ์ไข่แบบถาวร ในปีการศึกษา 2534 และดำเนินการตามโครงการ ต่อมาการเลี้ยงไก่พันธ์ไข่ประสบภาวะขาดทุน จึงได้หยุดโครงการเลี้ยงไก่ และดำเนินการย้ายบ้านพักนักการภารโรงมาปลูกติดเล้าไก่และปรับปรุงเป็นที่พักนักการภารโรง ในปีการศึกษา 2535

2.5 ปี พ.ศ.2536 สุขาภิบาลจันจว้าได้ขอเสนอใช้สถานที่โรงเรียนสร้างประปา เพื่อบริการในหมู่บ้าน ทางโรงเรียนได้ดำเนินการประชุมกรรมการศึกษาและรายงานให้สำนักงานคณะกรรมการการประถมศึกษาอำเภอแม่จันทราบ และมีความเห็นร่วมกันว่าการประปาเป็นสาธารณูปโภคที่ให้ประโยชน์แก่ชุมชน จึงเห็นควรให้สร้างในเนื้อที่โรงเรียนได้

2.6 ปีงบประมาณ 2537 ได้รับงบประมาณซ่อมแซมบ้านพักครู 105,000 บาท (หนึ่งแสนห้าพันบาทถ้วน) ได้ดำเนินการซ่อมแซมจนเสร็จเรียบร้อย

2.7 ปี .ศ.2537 โรงเรียนได้หาเงินพิเศษโดยการขายบัตรชมนาฏศิลป์และกายกรรมจีน ได้เงินสร้างโรงเก็บของ 1 หลัง นำวัสดุที่เหลือใช้ คือ สังกะสีจากการซ่อมแซมบ้านพักครูดำเนินการจนเสร็จเรียบร้อย สิ้นเงินงบจัดสร้าง 15,000 บาท (หนึ่งหมื่นห้าพันบาทถ้วน)

2.8 ในเดือน มกราคม พ.ศ.2538 แม่บัวเร็ว ทันหล้า พร้อมลูกหลานทุกคนได้ร่วมบริจาคเงินจำนวน 460,000 บาท (สี่แสนหกหมื่นบาทถ้วน) ได้ดำเนินการก่อสร้างและปรับปรุง ดังรายการต่อไปนี้

– ก่อสร้างหอประชุม “พ่อผัด-แม่ปิมปาอนุสรณ์” เป็นเงิน 400,000 บาท (สี่แสนบาทถ้วน)

– ปรับปรุงอาคารอเนกประสงค์ให้เป็นอาคารห้องสมุด เป็นเงินทั้งสิ้น 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

– คณะกรมการศึกษาสร้างโต๊ะประจำหอประชุม 30 ชุด เป็นเงิน 33,0000 บาท (สามหมื่นสามพันบาทถ้วน)

2.9 วันที่ 25 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2538 ได้ทำพิธีทำบุญมอบอาคารหอประชุม ชมรมศิษย์เก่ามอบเครื่องคอมพิวเตอร์ให้โรงเรียน 1 เครื่อง ราคา 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)

2.10 เดือนมกราคม 2539 หมู่บ้านกิ่วพร้าวได้รับงบประมาณพัฒนาจังหวัดจากสมาชิกสภาผู้แทนราษฎร เขต 1 จำนวน 410,000 บาท (สี่แสนหนึ่งหมื่นบาทถ้วน) สร้างสวนสุขภาพประกอบด้วยสนามบาสเกตบอล สนามฟุตบอล สนามวอลเลย์บอล และสนามตะกร้อ โดยใช้สถานที่สาธารณะประจำหมู่บ้านติดกับโรงเรียน สร้างเป็นสวนสุขภาพใช้ประโยชน์ร่วมกันทั้งชุมชมและโรงเรียน

2.11 ได้รับบริจาคผู้ปกครองชั้นอนุบาล 1- 2 สร้างส้วมและที่ปัสสาวะ จำนวน 1 หลัง ขนาด 4 ที่นั่ง    ปูกระเบื้องห้องเรียนอนุบาล 1-2 คิดเป็นเงินบริจาค 30,000 บาท (สามหมื่นบาทถ้วน)

2.12 งานวันเด็กแห่งชาติ ปี 2541 ได้เริ่มต้นตั้งกองทุนย้ายอาคารเรียน แบบ ป.1 ก มาสร้างใหม่ ได้กองทุนประมาณ 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)

2.13 ปี พ.ศ.2542 ได้สร้างอาคารเรียน แบบ ป.1 ก ที่ย้ายอาคารเรียนมาจากโรงเรียนป่าถ่อน            สันโค้งงาม สิ้นงบประมาณในการก่อสร้าง 1,2000,000 บาท (หนึ่งล้านสองแสนบาทถ้วน) โดยได้รับการสนับสนุนจาก สโมสรไลออนส์ ภาค 310 ดี กรุงเทพมหานคร และประชาชนทั้ง 4 หมู่บ้าน สมทบทุนในการสร้างอาคารเรียนจนแล้วเสร็จ

2.14 ปี พ.ศ.2543 คณะครูที่เข้าโครงการเกษียณก่อนกำหนดได้สร้างศาลาหกเหลี่ยมให้โรงเรียนเป็นอนุสรณ์ คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน)

2.15 ปี พ.ศ.2543 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบลจันจว้า จำนวน 20,000 บาท (สองหมื่นบาทถ้วน) เทพื้นอาคารเรียน แบ ป.1 ก ที่ย้ายอาคารเรียนมาจากโรงเรียนป่าถ่อนสันโค้งงาม และเทพื้น         โรงอาหาร

2.16 ปี พ.ศ.2544 คณะกรรมการสถานศึกษา ผู้นำชุมชนทั้ง 4 หมูบ้านและคณะครูได้ร่วมจัดงานบอลล์ และคณะผ้าป่ากรุงเทพมหานคร ระยอง แพร่ เพื่อหางบประมาณซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวน 5 เครื่อง และพัฒนาโรงเรียน รวมเป็นเงินงบประมาณทั้งสิ้น 103,271.50 บาท (หนึ่งแสนสามหมื่นสองร้อยเจ็ดสิบเอ็ดบาทห้าสิบสตางค์)

2.17 ปี พ.ศ.2544  แม่บัวเร็ว ทันหล้า ได้บริจาคงบประมาณ จำนวน 50,000 บาท (ห้าหมื่นบาทถ้วน)  เทพื้นคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ บริเวณโรงเรียน

2.18 ปี พ.ศ.2546 ราษฎรในเขตบริการ 4 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านกิ๋วพร้าว บ้านหนองปึ๋ง บ้านป่าถ่อน และบ้านสันโค้งงาม ร่วมกันทำถนนคอนกรีตเสริมไม้ไผ่ ระยะทาง 120 เมตร ในงบประมาณทั้งสิ้น 80,000 บาท                  (แปดหมื่นบาทถ้วน)

2.19 ปี พ.ศ.2546 ราษฎรและศิษย์เก่า โรงเรียนอนุบาลจันจว้าใต้ ได้ร่วมกันจัดผ้าป่าเพื่อหางบประมาณซื้อเครื่องคอมพิวเตอร์ให้แก่โรงเรียนอีก 4 เครื่อง รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 73,000 บาท (เจ็ดหมื่นสามพันบาทถ้วน)

2.20 ปี พ.ศ.2550 ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากเทศบาลตำบลจันจว้า จำนวน 50,000 บาท                       (ห้าหมื่นบาทถ้วน) เทพื้นอาคารเรียน และต่อเติมใต้ถุนอาคารไลออนส์

 

ความเจริญก้าวหน้า-ปริมาณงานของโรงเรียน

  1. ปี พ.ศ.2521-2552 เปิดทำการสอนในชั้นประถมศึกษาปีที่ 5-6 ตามลำดับ
  2. วันที่ 11 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2536 ได้รับการประเมินตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาจากครูใหญ่เป็นอาจารย์ใหญ่
  3. วันที่ 3 เดือน ธันวาคม พ.ศ.2534 ได้รับการประเมินกำหนดตำแหน่งผู้บริหารสถานศึกษาเป็นอาจารย์ใหญ่ ระดับ 7
  4. ปี พ.ศ.2540 เข้าสู่โครงการปฏิรูปการศึกษา ได้รับการจัดสรรห้องปฏิบัติการ จำนวน 3 ห้อง คือ ห้องปฏิบัติการคอมพิวเตอร์ ห้องปฏิบัติการดาราทางภาษา และห้องปฏิบัติการวิทยาศาสตร์
  5. เมื่อวันที่ 16 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2540 โรงเรียนป่าถ่อนสันโค้งงาม ได้นำนักเรียนมาเรียนรวมมีจำนวนนักเรียน 81 คน ข้าราชการครู 5 คน
  6. ปี พ.ศ.2545 ได้เข้าร่วมประกวดรางวัลโรงเรียนพระราชทาน ได้รับคัดเลือกให้เป็นตัวแทนของจังหวัดเชียงราย เข้ารับการประเมินเพื่อรับรางวัลพระราชทานในระดับเขตการศึกษา 8
  7. วันที่ 13 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2554 เปลี่ยนชื่อ จากอนุบาลจันจว้าใต้ เป็นโรงเรียนบ้านกิ๋วพร้าว ตามมติของคณะกรรมการถานศึกษา

 

ผู้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารโรงเรียนคนแรกจนถึงปัจจุบันมีรายนามดังต่อไปนี้

  1. นายแปลก ใจปินตา ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่คนแรก ตั้งแต่วันที่ 24 เดือน มิถุนายน พ.ศ.2480
  2. นายเมืองดี พรหมลือ ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ ตั้งแต่ พ.ศ.2485 ถึง พ.ศ.2487
  3. นายพรหม เมืองสุวรรณ ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ ตังแต่ พ.ศ.2487 และ เกษียณอายุราชการ เมื่อวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ.2514
  4. นายประสิทธิ์ สุรินทร์แก้ว ดำรงตำแหน่ง ครูใหญ่ ตั้งแต่ วันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2514 ถึง วันที่ 30 เดือนกันยายน พ.ศ.2543
  5. นายสุชาติ ฟองอิสสระ ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 1 เดือน เมษายน พ.ศ.2543 ถึงวันที่ 22 เดือนกุมภาพันธ์ พ.ศ.2544
  6. นายวินิจฉัย ใสมรรคา ดำรงตำแหน่ง อาจารย์ใหญ่ ตั้งแต่วันที่ 25 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2544 และดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา ถึงวันที่ 2 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549
  7. นายนิพนธ์ จินดาธรรม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 22 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2549 จนเกษียณอายุก่อนกำหนดวันที่ 1 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2551
  8. นายอำนวย ไชยปัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 9 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2551 ถึงวันที่ 1 เดือน กุมภาพันธ์ พ.ศ.2554
  9. นายนินนาท นิธิธนานันต์ ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 9 เดือน พฤษภาคม พ.ศ.2554 จนเกษียณอายุราชการ ในวันที่ 30 เดือน กันยายน พ.ศ.2561
  10. นายณรงค์ ดีสงคราม ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงเรียน ตั้งแต่วันที่ 25 เดือน ตุลาคม พ.ศ.2561 ถึงปัจจุบัน

ปัจจุบันเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาลถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีจำนวนนักเรียนทั้งสิ้น 72 คน ข้าราชการครูจำนวน 5 คน ครูอัตราจ้าง 2 คน ครูธุรการ 1 คน และนักการภารโรง 1 คน มีนายณรงค์ ดีสงคราม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน

 

รายนามผู้บริหารโรงเรียนบ้านกิ๋วพร้าว

ที่ ชื่อ-สกุล ระยะเวลาดำรงตำแหน่ง
1 นายแปลก ใจปินตา 2480-2485
2 นายเมืองดี พรหมลือ 2485-2487
3 นายพรหม เมืองสุวรรณ 2487-2514
4 นายประสิทธิ์ สุรินทร์แก้ว 2514-2543
5 นายสุชาติ ฟองอิสสระ 2543-2544
6 นายวินิจฉัย ใสมรรคา 2544-2549
7 นายนิพนธ์ จินดาธรรม 2549-2551
8 นายอำนวย ไชยปัน 2551-2554
9 นายนินนาท นิธิธนานันต์ 2554-2561
10 นายณรงค์ ดีสงคราม 2561-ปัจจุบัน